การที่จะครอบครองรถมือสองสักคัน มันไม่ใช่เรื่องยากก็จริง แต่มันก็ไม่ง่ายสำหรับคนกลุ่ม ถ้าได้ครอบครองรถมือสองคุณภาพดีเหมาะสมกับราคาก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าได้ครอบครองรถมือสองที่มีปัญหาให้ต้องแก้ไข ปวดหัวไม่รู้จบเหมือนกัน
ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสันใจซื้อรถมือสอง ต้องพิจารณาอย่างรอบครอบอย่างถี่ถ้วน การดูรถมือสอง การเลือกรถมือสอง การตรวจสอบรถมือสอง มีหลากหลายวิธีด้วยกัน
ข้อดีของรถมือสอง คือ ราคาถูก แต่ว่ามันเป็นรถมือสองก็ย่อมต้องเสื่อมสภาพตามการใช้งานมาแล้ว ดังนั้นคุณควรตรวจสอบสภาพรถมือสองอย่างละเอียด ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
โดยปัจจุบันมีช่องทางการเลือกซื้อหลายได้หลายช่อง ไม่ว่าจะเป็ฯรถบ้าน ซื้อกับเจ้าของเอง หรือเต็นท์ ซึ่งเดี๋ยวนี้ เต๊นท์รถมือสอง ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หลายๆคนกลัวการย้อมแมวบ้าง กลัวได้ซื้อไปซ่อมบ้าง สุดท้ายมันก้อขึ้นอยู่กับตัวผู้ซื้อเอง ก่อนตัดสินใจอย่าได้ใจร้อน ควรศึกษาข้อมูลเรื่องรถให้ดีเสียก่อนหากจะตัดสินใจซื้อ ดูให้ละเอียดถี่ถ้วน ทดลองขับได้ยิ่งดี การซื้อรถเข้าเต๊นท์ เจ้าของเต๊นท์ก็จะดูรถมาบ้าง เขาก็จะเอาสภาพที่ขายง่าย และคงไม่ต้องการให้ใครซื้อไปแล้วกลับมาด่าเขา แต่ถึงกระนั้นก็ต้องระวังไว้จะดี เพราะทุกวันนี้มีกลโกงมากมายที่เราจะต้องคำถึงถึงเวลาที่จำเป็นต้องเลือกซื้อรถมือสองการเลือกซื้อรถมือสอง มีอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึงอย่างที่ควรรู้ไว้ เช่น การตัดต่อตัวถังรถยนต์ การสวมทะเบียนรถ การทำเลขตัวถังขึ้นใหม่ การทำทะเบียนปลอม การซ่อมรถจากซากรถ การดัดแปลงรถแท็กซี่ การดัดแปลงจากรถรถสองแถววิน แต่การเลือกที่ดีที่สุด คือการหาผู้ที่เชี่ยวชาญดูรถและช่วยตัดสินใจให้ การซื้อจากเจ้าของรถที่รู้จักกัน เต้นรถที่มีชื่อเสียงและไว้ใจได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเต้นรถส่วนมามักจะเลือกซื้อรถที่สภาพดี เพื่อป้องกันการขาดทุน การขายไม่ได้ หรือปัญหาหลังการขายอยู่แล้ว และอื่นๆอีกมากมาย
เริ่มจาก
หาข้อมูล
หากว่าตอนนี้คุณยังไม่มีไอเดียเลยว่าควรเลือกรถแบบไหนดี การลองหาข้อมูลของรถอาจช่วยคุณได้บ้าง ลองตั้งงบประมาณเบื้องต้น ของรถที่คุณคิดจะซื้อ จากนั้นก็ลองหาข้อมูลดูว่ามีรถรุ่นไหนบ้างที่ราคาเท่ากับที่คุณคาดเอาไว้ ต่อมาก็ลองดูความคิดเห็นของรถที่คุณสนใจอยู่ จากเว็บไซต์รีวิวรถ หรือลองถามเพื่อนที่มีความรู้และช่างที่คุณคุ้นเคยก็ได้ สุดท้ายคุณก็ตัดตัวเลือกให้เหลือเพียงแค่คันเดียวแล้วพิจารณาดูศูนย์จำหน่ายรถหลาย ๆ ที่ด้วยว่าราคาจากศูนย์ไหนที่คุณพึงพอใจมากที่สุด
เช็คประวัติ
สุมดประวัติประจำรถ
มักไม่ค่อยมี เพราะเจ้าของรถไม่พิถีพิถัน แต่ถ้ามีก็ต้องถือว่ายอดเยี่ยม เพราะสมุดประวัติประจำรถทำให้รู้ว่าเขาตรวจซ่อมอะไรมาบ้าง ตรวจทุกระยะประจำหรือเปล่า
เจ้าของรถ
คุณควรดูเจ้าของรถคันเดิมว่าเขาเป็นใครใช้รถอย่างไรดูแลรถหรือไม่ มีคนกล่าวว่า ไม่ควรซื้อรถต่อจากวัยรุ่น ผู้หญิง และคนชรา เพราะว่าทั้งสามประเภทนี้ ใช้รถอย่างเดียวไม่ค่อยดูแลรถที่ใช้อยู่
มือที่เท่าไหร่
ก็คือรถคันนี้มีคนเป็นเจ้าของมามากน้อยเพียงใด ถ้าผ่านมาแล้วหลายมือก็ไม่ควรซื้อ เพราะรถอาจจะมีปัญหาได้
ตรวจสอบรายละเอียดของรุ่นและปีของรถ รถหลายๆ รุ่นมีรุ่นย่อยหลายรุ่นและยังมีการเปลี่ยนโฉมหรือไมเนอร์เชนจ์อีก เพื่อให้ชัวร์ว่ารถคันที่จะซื้อนั้นเป็นรุ่นและปีอะไรกันแน่ ก็คงต้องดูจุดสังเกตุเพิ่มเติม ซึ่งรถแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นก็มีจุดสังเกตไม่เหมือนกัน เช่น บางรุ่นสังเกตได้จากแผ่นเพลตในห้องเครื่องยนต์ บางรุ่นสังเกตจากป้ายหรือเพลตที่หม้อน้ำ บางรุ่นสังเกตจากโคมไฟหน้าหรือไฟท้าย บางรุ่นสังเกตจากป้ายที่เข็มขัดนิรภัย ฯลฯ เราควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่ารุ่นที่ผู้ขายระบุมา ตรงกับรถมือสองคันที่เราตรวจสอบอยู่ และรถแต่ละรุ่นนั้นมีทุนประกันภัยไม่เท่ากัน จึงอาจส่งผลต่อราคาซื้อประกันภัยรถยนต์มือสองได้
ประวัติรถ
หากสามารถรู้ประวัติการใช้รถของเจ้าของเดิมมาบ้างก็จะดี เพราะจะได้รู้ว่าเจ้าของรถคนเก่าเคยนำรถไปใช้อย่างไร เช่น ไปชนคนตายมาก่อนหรือเปล่า เคยนำรถไปใช้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือเปล่า เคยประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนน่ากลัวหรือเปล่า ส่งเหล่านี้เราต้องสืบหาเอาเอง
ตัวเลขระยะทางการใช้รถ
ในการซื้อรถคุณควรดูเลขตัวไมล์ โดยปกติการใช้รถไม่ควรจะมากกว่าสามหมื่นกิโลเมตรต่อปี หากมากไปกว่านี้ถือว่ามากอาจทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้งานหนัก เลขระยะทางสามารถเป็นตัวบอกอายุของรถและความเสื่อมถอยของชิ้นส่วนต่างๆได้ โดยปรกติทั่วไปรถจะมีระยะทางในการใช้งานประมาณ 25000 – 35000 กิโลเมตรต่อปี ขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง เช่น อาชีพของผู้ขับขี่ พื้นที่ที่ใช้ ว่าเป็นรถใช้ในเมือง หรือใช้ระหว่างพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามคุณจะต้องจำไว้ให้ขึ้นใจว่า สภาพรถ ปีรถ และ ระยะทางขับขี่ ควรสอดคล้องกัน การซื้อรถที่มีอายุ 10 ปี แต่วิ่งมาแค่ 30000-40000 กิโลเมตร นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ดี
ตรวจสภาพรถ
สภาพตัวถังโดยรวม เครื่องยนต์หลวมยังซ่อมหรือเปลี่ยนเครื่องได้ ช่วงล่างหลวมก็ซ่อมได้ ตัวถังไม่สวย ก็ซ่อมได้ แต่จะซ่อมให้สวยปิ๊งเหมือนเดิมนั้นยาก ลำดับแรกต้องมองให้ขาดว่าตัวถังของรถคันที่คุณสนใจอยู่ในสภาพที่ดี ความสวยสมบูรณ์ของตัวถังไม่ได้หมายถึงสีสวย แต่หมายถึง ทรงของรถต้องยังดีอยู่ การดูก็ดูรวมๆ มองภาพกว้างๆ เดินดูรอบๆ ว่าเหลี่ยมสันของรถคันนั้นในมุมต่างๆ ยังสวยกริ๊บอยู่ไหม
ช่องไฟต่างๆ ช่องไฟคือ ระยะห่างระหว่างชิ้นส่วนตัวถังแต่ละจุด เช่น ระยะระหว่างบังโคลนหน้าซ้ายกับบานประตูหน้าซ้าย บานประตูหน้าซ้ายกับบานประตูหลังซ้ายมีระยะห่างเท่ากันไหม และระยะห่างนั้นอยู่ในลักษณะที่เป็นแนวตรงดีหรือไม่ ถ้ามีการเฉี่ยวชนมา หากซ่อมตัวถังไม่ดี จุดเหล่านี้ระยะจะมีการผิดเพี้ยนหรือเสียศูนย์ไป
ดูตัวถัง body
เปิดฝากระโปรงหน้ามาดูคานหน้า คานรถทุกคันจะมีรู กลมบ้าง เหลี่ยมบางแล้วแต่ ถ้ารูเบี้ยว ไม่คมก็แสดงว่ามีชนมาบ้าง ป้ายทะเบียนรถยับมีรอยดัด ก็ให้เดาไว้ก่อนเลยว่าเคยชนมา แผ่น plate ที่แปะติดคานมา มีรอยยับหรือดัดมาก็เช่นกัน สันด้านข้างตะเข็บความนูนเสมอกันหรือไม่ รอยอ๊าค จากโรงงานกับอู่เคาะพ่นสีก็ต่างจะกัน สำหรับด้านหลัง ก็เปิดฝากระโปรงดูเช่นกัน ไฟท้ายทั้ง 2 ดวงเสมอเบ้าหรือไม่ รอยแยกต่อชิ้นเว้นช่องไฟเท่ากันเปล่ามีเบี้ยวมีเกยกันหรือไม่ คานหลังก็ใช้ลักษณะการสังเกตเหมือนคานหน้าเพียงแต่ต้องลื้อพรมปูท้ายรถออกเพื่อให้เห็นพื้น พื้นรถด้านหลังโดยมากจะเป็นรอนๆ ก็สังเกตดูว่าเท่ากันหรือเปล่า รถบางคันโดนชนหลังมาช่างเคาะอาจทำดีมากจนดูแทบไม่ออก ต้องเช็ค มีบางคันเศษกระจกอาจหลงเหลืออยู่ให้เห็น ส่วนด้านข้าง ก็ดูเทียบสี จากโรงงานสีเดิม กับอู่สี สีจะเพี้ยนนิดหน่อยแต่ก็พอเห็น ใช้วิธีเคาะด้วยมือของเรานี่แหละ เคาะรอบคันเลย รถที่ทำสีมาแล้วเสียงจะทึบๆ ชิ้นที่สีเดิมจะมีเสียงโปร่งๆ ฟังดีดีจะรู้ถึงความแตกต่าง รถที่เคยหงายตะแคงมา ก็ดูหลังคารถเคาะๆ ดู สังเกตขอบคิ้วกระจกหน้าหลังว่าเหมือนกันหรือเปล่า มีรอยแตกของสีโป๊วหรือไม่ หลังคาไม่น่ามีสีสดสวยกว่าประตูข้าง เพราะเป็นส่วนที่รับแดดมากที่สุดบริเวณ ฝากระโปรงรถ ตรวจภายในฝากระโปรงรถดูด้วยว่าเริ่มมีสนิมจับ รอยบุ๋มลึก หรือร่องรอยเสียหายอื่น ๆ อยู่หรือเปล่า นอกจากนั้นตรวจสอบท่อและ
สายพานดูด้วยว่ามีรอยฉีกขาดหรือไม่ สังเกตแบตเตอรี่ด้วยว่ามีน้ำรั่วซึมไหม เพราะอาจเกิดขึ้นได้จากการดูแลรักษาที่ไม่ดีพอ และอย่าลืมเปิด ฝาน้ำมันแล้วสังเกตด้วยว่ามีสารตกค้างเป็นฟองสีขาวเนื่องจากเคยเกิดการรั่วมาก่อนหรือเปล่า
ดูตามซอกหรือตะเข็บ
ถ้าจะให้ดีต้องสังเกตตะเข็บของตัวถังและรอยอาร์คหรือจุดที่มีการเชื่อมตัวถังว่าเป็นรอยเดิมที่มาจากโรงงานหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีความรู้เรื่องรถอาจจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติมสักหน่อย ผมแนะนำว่าเราอาจไปสำรวจรถรุ่นที่เราสนใจในโชว์รูมซึ่งเป็นรถใหม่ แล้วเก็บรายละเอียดซอก ตะเข็บต่างๆ เท่าที่สำคัญ เพื่อมาเปรียบเทียบกันว่า รถมือสองคันนี้ มีอะไรแตกต่างจากรถมือหนึ่งมากน้อยเพียงใด
ภายนอกรถ
กันชนหน้า ไฟหน้า กระจังหน้า ต้องได้รูปไม่โน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่งฝากระโปรงหน้า สังเกตร่องระหว่างฝากระโปรงกับแก้ม ต้องเป็นสันตรงกันทั้งสองข้าง ด้านหน้าต้องตรงกันรับกับไฟหน้าและกระจังหน้าเสาหลังคา ว่ามีการโน้มเอียงไปหรือไม่ มีความนูนโค้ง หรือเสียรูปไปจากของโรงงานหลังคา ว่ามีการเอียง การยุบ หรือโค้งไม่ได้รูปอย่างไร ประตู ร่องระหว่างประตู ระหว่างแก้มหน้า เสาประตู ประตูหลัง จนถึงแก้มหลัง ว่าร่องประตูต่างๆ สังเกตเปรียบเทียบกับรถป้ายแดง สังเกตว่าร่องประตูต่างๆจะตรงกัน กันชนท้าย และฝากระโปรงท้าย ต้องตรงกันไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง ความสูงต่ำ ว่ามีอาการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ หรือมีการดัดแปลงช่วงล่างมาอย่างไร
สีรถ ดูระยะเริ่มใกล้ ราวๆ 1- 3 เมตร ดูสีรถรอบคัน ว่ามีส่วนไหนที่ทำสีมาแล้วบ้าง สังเกตุสีที่แตกต่าง ความเรียบของผิวรถ ตำหนิต่างๆเกี่ยวกับสี หรือว่าเคยทำสีมาทั้งคัน ถ้าทำสีมาทั้งคันแล้วต้องดุให้ดีนะค่ะ ต้องสันนิฐานว่าทำสีทั้งคันเพราะอะไร เจ้าของเดิมเบื่อไม่ชอบสีเดิม สีซีดแล้วไม่สวย เกิดอุบัติเหตุทุกที่ หรือรุนแรงจนอู่ต้องตัดสินใจทำสีใหม่ทั้งคัน
เคาะฟังเสียง โดยการแอบไล่เคาะรถบางส่วนหรือรอบคันเพื่อฟังเสียง รถที่ทำสีแล้วมักจะมีการโป๊ว การโป๊วหนาย่อมหมายถึงอุบัติเหตุมาก เราสามารถเคาะดูเสียงที่แตกต่างกันได้ โดยการไล่เคาะฟังเสียงไปทั้งๆคัน
คานหน้ารถ ต้องเปิดฝากระโปรงหน้ารถดูว่า คานหน้าที่ยึดหม้อน้ำว่ามีการทำสีมาหรือไม่ มีการโป๊วสี หรือซ่อมมาอย่างไร สังเกตจากรูน็อตต่างๆ ต้องยังกลม และหมายเลขหน้ารถต้องยังชัดเจน หรือแผ่นเพทต้องไม่เคยชำรุด ทั้งคานบนล่างต้องได้รูป
ใต้ท้องรถ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมองข้ามกัน แต่ใต้ท้องรถบ่งบอกถึง การใช้งานแบบทุระกันดาร การตัดต่อตัวถัง การเสียรูปของตัวรถ ความผุของตัวถังที่มักเริ่มจากพื้นรถเป็นอันดับแรก สังเกตเฟรมใต้ท้อง ความบุบครูด สนิมที่เริ่มผุ หรือการแยกกันแล้วของตัวถังรถ
ช่วงล่าง และภายในห้องเครื่อง
เครื่อง ช่วงล่าง เกียร์
เครื่อง
ถ้าเครื่องมีปัญหา หรือ หลวม จะเสียงดัง ไม่นิ่งรอบสูงบ้างต่ำบ้าง ไม่น่าเชื่อถือ เวลาเครื่องร้อนเราก็ดูก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมา จะมีควันพุ่งออกมา หรือ น้ำมันเครื่องจะกระเซ็นเป็นละอองออกมาเอามือไปอังๆ ดูก็ได้ เครื่องยนต์ นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับการเลือกซื้อรถยนต์ ซึ่งทางที่ดีควรมีผู้ชำนาญด้านเครื่องยนต์ไปตรวจสอบด้วย ลองสตาร์ทเครื่องดูว่าเครื่องยนต์มีสภาพเป็นอย่างไร ติดง่ายหรือไม่ เครื่องยนต์เดินสะดวกไม่มีอาการสะดุดหรือเปล่า และลองฟังเสียงเครื่องยนต์
ขณะเร่งด้วยความแรงสูงสุดและต่ำสุดด้วยว่ามีเสียงผิดปกติเกินไปหรือไม่อีกด้วย ภายในห้องเครื่อง
ว่ามีการทำสีมาแล้วหรื่อไม่ สังเกตรูปทรงต่างๆ ต้องจับผิดทุกจุด ทั้งรูน็อตต่างๆ รูปทรงต่างๆว่าต่างจากของโรงงานมาอย่างไร เครื่องยนต์ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน สังเกตหาการซ่อมแซม สตารท์เครื่องฝังเสียง เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่อง แล้วสังเกตไอน้ำมันเครื่อง เสียงท่อไอเสีย ควันจากท่อ หรือถ้ามีบุ๊กเซอร์วิสติดมา จะเป็นการดีครับ รองเปิดดูประวัติการซ่อม และดูด้วยว่าต้องต้องตรงกับทะเบียนรถ และเลขไมล์ในตัวรถ
ชุดส่งกำลัง คลัชต์ ถ้าเข้าเกียร์ ออกตัวแล้วๆ กระตุกๆ เข้าเกียร์ยาก นั่นหมายถึงมีปัญหา ถ้าวิ่งๆ อยู่มีเสียงหอนแหวกอากาศมาเข้ามา เวลาเข้าเกียร์ว่างรถจอดนิ่งๆ ไม่ดังก็แสดงว่าเกียร์มีปัญหา เกียร์ auto ก่อนเข้าเกียร์เหยียบเบรคคาไว้ เข้าเกียร์ตำแหน่ง D ไม่กระตุกกระชากก็พอใช้ได้ เข้าตำแหน่งเดิม N แล้วไป R ก็ไม่มีอาการอะไรก็แสดงว่าน่าจะผ่านแล้ว ต้องลองวิ่งดูว่าเกียร์ทำงานทุกเกียร์เปล่า ออกตัวก็เช่นกัน ออกตัวดีมั้ย ถ้าต้องรอสักพักถึงเคลื่อนตัวได้แสดงว่าเกียร์อาการแย่
ช่วงล่าง และล้อรภ
เวลาขับไปเจอฝาท่อ เจอถนนคอนกรีตที่กร่อน มีหลุม มีบ่อ ถ้าลุยเข้าไป เดี๋ยวเสียงกรุกกรักจะปรากฏถ้าไม่แน่น หรือ อาจสะท้านมาถึงพวงมาลัยเลยก็มี แต่อย่าขับเร็วมากนักอาจเสี่ยงต่ออันตราย ก็ได้ ต่อไปเป็นเบรค และ สภาพยาง อาจซื้อแล้วเข้าร้านเปลี่ยนของใหม่เลย เอาแบบปลอดภัยไว้ก่อน ก็ชัวร์ดี ช่วงล่าง และล้อยาง รองหมุนโยกพวงมาลัยแรงๆ แต่การรองขับขี่เป็นการดีที่สุด ทดสอบการเกาะถนนทางตรงและทางโค้ง ศูนย์ของรถต้องไม่กินซ้ายกินขวาต้องรองเลี้ยวกลับรถแบบสุดๆทั้งซ้ายและขวา การคืนพวงมาลัย ขึ้นเนินลูกระนาด หรือรองบนทางขรุขระ ทุกรูปแบบที่สามารถจะทดสอบได้
ภายในห้องโดยสาร
กลิ่น ถ้าเปิดรถแล้วได้กลิ่นอับๆ ชื้นๆ แสดงว่าน้ำเข้ารถ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ง่ายต่อการดูมากเลย คือเอายางปูพื้นออก ดูว่าพื้นพรมมีรอยชื้นของน้ำหรือเปล่า บางคันพื้นอาจผุจนทะลุ ต้องดูหมดทั้ง 4 จุด
ดูความเรียบร้อย คอนโซล แตกหรือไม่ ช่องแอร์สมบูรณ์หรือเปล่า ช่องแอร์เป็นอะไรที่ซ่อมยากนะ เพราะอาจไม่มีอะไหล่ด้วย แอร์ เปิดแอร์ เบอร์ 1-4 ดูเลยว่ามันไล่ระดับความแรงหรือเปล่า แรงลมจะบอกได้ว่าตันหรือเปล่า สมัยนี้ล้างแอร์ก็ราคาแพงด้วย เปิดทิ้งไว้แล้วออกไปเดินดูรอบๆ รถนานๆ หน่อย ไม่ใช่ แค่แป๊บเดียว แล้วเดินเข้าไปในรถก็จะรู้ว่าแอร์เย็นฉ่ำ หรือ ไม่เย็นฉ่ำ ลองฟังดูว่ามีเสียงอะไรดังผิดปรกติหรือเปล่า แอร์ตัดตามปกติหรือไม่ เบาะรถยนต์ ดูว่าเก่าขาด หรือยุบตัวทางด้านไหน หรือเปลียนใหม่มาแล้ว เปลี่ยนเพราะอะไร ใช้งานหนักจนเบาะชำรุดมาก หรือเบาะเดิมไม่สวยถึงเปลี่ยนใหม่ คอนโซลหน้า ว่าเป็นของเดิมจากโรงงาน ไม่เสียรูป มีการแตกที่ผิดปกติ หรือเปลี่ยนใหม่เพราะอะไร หน้าปัด เป็นการดูว่าหน้าปัดยังเป็นของเดิมตรงรุ่น ดูระยะกิโลการใช้งาน แต่การเชื่อถือระยะกิโลเป็นหลัก ก็ยังเป็นการผิด เพราะสามารถปรับแต่งกันได้ หรือรถใช้น้อยแต่เครื่องพัง วิ่งลุยน้ำทุกวัน หรือใช้งานหนัก สู้เลือกรถใช้งานมาก แต่ขับถนอมดีกว่า พวงมาลัย และ หัวเกียร สังเกตพวงมาลัยว่า มีการยุบอย่างไร พวงมาลัยและหัวเกียรที่ผ่านการใช้งานหนัก จะมีการสึกหรอสูง จนเป็นมัน เป็นรอยแตก สังเกตลายที่แตกต่างบนพวงมาลัย ผ้าหลังคารถ ว่ายังเป็นของเดิมมาจากโรงงาน มีการประกอบยึดใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่เพราะอะไร
ตรวจสอบระบบต่างๆ
ที่ติดตั้งเพิ่มเติม เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนเครื่องเสียงใหม่ ที่ไม่ใช่เครื่องเสียงเดิมติดรถ ดูสักหน่อยว่ามีการติดตั้งอะไรเยอะ แยะมากมายหรือเปล่า ตลอดจนระบบกันขโมยและอื่นๆ หากมีการติดตั้งอะไรเยอะๆ หากติดตั้งไม่ดี ซึ่งหมายถึงการตัดต่อหรือเดินสายไฟไม่ดี แทนที่จะรู้สึกเหมือนได้ของดีมาแต่อาจส่งผลต่อระบบไฟฟ้าในรถยนต์ได้ ทดลองขับ
ควรทดลองขับ
เพื่อเช็คสภาพรถให้แน่ใจว่ารถมือสองที่คุณจะซื้อนั้นสามารถวิ่งบนท้องถนนได้ตามสมรรถนะของรถอย่างเต็มที่มากน้อยขนาดไหน โดยก่อนเริ่มขับรถให้หมุนพวงมาลัยซ้ายขวาดูความลื่นไหลของพวงมาลัย หลังจากนั้นให้ฟังเสียงเครื่องยนต์ขณะที่แล่นอยู่ ลองตรวจสอบระบบเบรกโดยการขับด้วยความเร็วระดับต่ำแล้วเหยียบเบรกดู ถ้าเกิดมีเสียงอะไรแปลก ๆ หรือมีอาการสั่นขณะที่เหยียบและเหวี่ยงไปมาก็คงไม่ดีแน่ อาจเป็นเพราะแคลิปเปอร์ของเบรกไม่ดีหรืออุปกรณ์เสื่อมสภาพก็เป็นได้
ซื้อรถจากเจ้าของดีกว่าซื้อจากเต้นท์รถหรือพ่อค้าคนกลาง
ถ้าซื้อรถจากพ่อคนกลาง พ่อค้าคนกลางอาจโอนเป็นชื่อของตนเองหรือโอนลอยไว้ พวกนี้จะเอาของดีๆ ออกจากตัวรถก่อนจะขาย ก็ได้ เช่น เครื่องเสียง อุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์ประกอบรถอื่นๆ ที่พอจะนำไปขายแยกได้ ส่วนเต๊นท์รถนั้นก็คือพ่อค้าคนกลางเหมือนกันแต่เจ้าเล่ห์มากกว่า และมักจะขายราคาแพงกว่าท้องตลาดประมาณ 25,000-50,000 บาทต่อคัน เวลาจะซื้อรถคุณควรดูให้มั่นใจเสียก่อน ก่อนจะตัดสินใจซื้อ
หากซื้อรถจากเต้นท์จะต้องนำรถออกทันที
คุณอย่าไปวางเงินแล้ววางใจ ไม่อย่างนั้น เครื่องเสียง ล้อแม็กซ์ ยาง เครื่องยนต์ และอื่น ของคุณอาจจะถูกเปลี่ยนไป โดยที่คุณเองก็อาจทำอะไรก็ไม่ได้
11. ต้องรีบโอนรถให้เรียบร้อย
ถ้าคุณซื้อรถจากเจ้าของแล้วควรนำรถออกทันที แต่ถ้าซื้อรถจากเต๊นท์จะต้องทำสัญญาซื้อขายให้ดี ขอใบเสร็จรับเงินให้เรียบร้อย ถ้านัดไปโอนทะเบียบภายหลังจะต้องกำหนดเวลาการโอนในสัญญาซื้อขายอย่างแน่นอน
เอกสาร
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเอกสารการซื้อขายรถนั้นมีพร้อมอย่างครบถ้วน หนังสือสัญญาซื้อขาย สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
ของผู้ขาย พร้อมหลักฐานของรถต่าง ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ตรวจดูพวกรหัสเครื่องยนต์ เลขทะเบียนรถด้วยว่าตรงกับหลักฐานของรถทุกประการ
หรือไม่
ชำระเงิน
หากว่าคุณตัดสินใจแล้วที่จะซื้อรถจากศูนย์หรือบุคคลนั้นแล้ว คุณอาจต่อรองราคาที่ต่ำกว่าราคาขายเริ่มต้นได้หากว่าสภาพรถดูแย่กว่าที่
ประกาศขายในตอนแรก ที่สำคัญอย่าลืมเก็บใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วยเมื่อทำการชำระเงินกับผู้ขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แม้ว่าการดูรถยนต์มือสองว่ามีความพร้อม สามารถใช้งานได้ดีตามที่ต้องการอาจกินเวลาของคุณไปบ้าง แต่ขอบอกไว้เลยว่าเป็นเรื่องที่
มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากคุณไม่ได้ตรวจสอบรถคันนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็อาจเกิดปัญหาทั้งหลายแหล่ตามมาเป็นพรวนอย่างเช่น
ถ้ารถของคุณสภาพไม่ดีพอ ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้เมื่อนำมาขับ หรือถ้าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา คุณก็อาจถูกตำรวจจับเพราะรับซื้อของโจรได้
จำให้ขึ้นใจเลยสำหรับสุภาษิต "ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม" ซึ่งเป็นคำพูดที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการเลือกซื้อรถมือสองของคุณ
แถม!!!
22 ขั้นตอนตรวจสอบรถมือสองด้วยตัวคุณเอง
1.ต้องแน่ใจว่ารถมือสองที่คุณกำลังตรวจสอบอยู่นั้น จอดอยู่บนพื้นราบ ไม่เอียงขึ้นลง หรือเอียงซ้ายเอียงขวาเพราะคุณจะสามารถทำการตรวจยางและระดับของช่วงล่างได้แม่นยำ นอกจากนี้การจอดในพื้นราบยังเป็นการสร้างความปลอดภัยจากรถมือสองเคลื่อนที่เองในขณะตรวจสอบได้อีกด้วย
2.ตรวจดูการทำสีของรถมือสองดูร่องรอยสนิมต่างๆ รอยนูน รอยบุ๋ม และรอยถลอก หลุดร่อนต่างของสีรถมือสอง โดยขั้นตอนนี่จะต้องดูอย่างละเอียดเรียงไปตั้งแต่ด้านหน้ารถ ด้านข้าง ด้านหลัง ด้านบน ตลอดจนถึงตัวถังด้านในทุกส่วน ว่าสีที่ปรากฏนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร มีรอยสนิม รอยถลอก หรือร่องรอยปูดรอยบุ๋มหรือไม่ เพื่อดูว่ารถมือสองคันนี้มีโครงสร้างพื้นผิวต่างๆสมบูรณ์ดีอยู่หรือไม่
3.ตรวจสอบในส่วนของห้องเก็บของที่อยู่ส่วนท้ายรถมือสองว่ามีสภาพสวยงามเรียบร้อยดีอยู่หรือไม่ เปิดดูยางอะไหล่และเครื่องมือประจำรถว่ามีครบหรือไม่ อ่างยางอะไหล่มีสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ดีอยู่หรือไม่
4.ตรวจดูอุปกรณ์ที่อยู่ใต้ฝากระโปรงหน้า รถมือสองว่ามีร่องรอยการชน รอยบุบ รอยปูด หรือร่องรอยความเสียหายต่างๆที่อาจเกิดจากการไม่ดูแลรักษารถหรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ นอกจากนี้ ภายใต้ฝากระโปรงเรายังสามารถตรวจสอบเลขตัวถังและเลขเครื่องได้อีกด้วย ถ้าเลขเหล่านี้ไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือหายไป หรือมีลักษณะถูกแก้ไขใหม่มา คุณคงต้องสอบถามถึงเหตุผลกับผู้ขายและตรวจสอบละเอียด
5.ตรวจเช็คท่อยางและสายพานต่างๆ ว่ามีรอยร้าวรอยรั่วหรือรอยแตกลายงา รวมถึงยังมีสภาพความยืดหยุ่นสวยงามดีหรือไม่ สายพานต่างๆต้องไม่หย่อนหรือตึงเกินไป
6.เปิดประตูเข้าดูภายในห้องโดยสาร ดูเบาะที่นั่งทุกๆตำแหน่งว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ มีรอยฉีกขาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ยังสะอาดสดใสอยู่หรือไม่
7.ตรวจสอบดูว่า ระบบทำความเย็นสามารถทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่ ลองปรับความเย็นและแรงลมว่าทำงานได้ดีในทุกระดับหรือไม่ และน้ำยาแอร์ของรถต้องจะเป็นชนิด R134 เพราะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา รถทุกคันจะต้องใช้น้ำยาแอร์ R134 เท่านั้น
9.การทดลองขับรถมือสองก่อนการตัดสินใจขั้นตอนสุดท้าย ข้อนี้เป็นการตรวจสอบที่ดีมากที่ทำให้เราสามารถรู้สภาพโดยรวมของรถว่า...สามารถใช้ได้ดีหรือไม่ รวมถึงเสียงต่างๆที่ผิดปรกติสามารถตรวจพบได้ในขั้นตอนนี้
จำไว้ว่าคุณหรือช่างของคุณควรได้ทดสอบขับรถก่อนการตัดสินใจซื้อ
10.การตรวจสอบคู่มือเข้าศูนย์บริการประจำรถ เพื่อดูประวัติการเข้าซ่อมบำรุงการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ
รวมถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับรถมือสองคันนั้น ถ้าจะให้สมบูรณ์ที่สุด เจ้าของผู้ขายรถมือสองควรเก็บเอกสารต่างๆเกี่ยวกับการเข้าศูนย์บริการไว้แสดงแก่ผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อรถมือสองสามารถวางแผนหลังการซื้อได้ว่า จะต้องนำรถมือสองไปเข้าตารางการซ่อมบำรุงต่อไปอย่างไร รถมือสองคันนั้นจะเข้าศูนย์บริการรถอิสระ หรือผู้ใช้ซ่อมบำรุงเองก็ได้ ตราบใดที่เจ้าของรถมือสองสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาทำอะไรกับรถมาบ้าง แต่ผู้ขายหลายรายอาจแก้ไขหรือทำการปกปิดเอกสารเหล่านี้ในกรณีที่รถใช้งานหนักมากหรือเกิดอุบัติเหตุหนักมา
11.ตรวจสอบระบบเบรก สามารถทำได้โดยระหว่างทดลองขับลองเบรกกระทันหัน เพื่อทดสอบระบบเบรก และ ระบบ ABS ว่าสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่ สามารถใช้การทดสอบบนความเร็ว ไม่เกิน 60 กม/ชม บนที่ๆไม่มีรถหนาแน่นและควรระวังรถที่ขับตามด้วย ระหว่างเบรกยังสามารถตรวจสอบความผิดปรกติต่างๆจากเสียงเบรกได้ว่า ผ้าเบรกผิดปรกติ ใกล้หมด หรือรวมไปถึงจานเบรกว่ามีพื้นผิวสัมผัสที่สมบูรณ์อยู่หรือไม่ การทดสอบนี้สำคัญต่อความปลอดภัยในการขับขี่มาก
12.ตรวจสอบดูส่วนประกอบต่างๆของเครื่องยนต์ ว่ามีของเหลวที่ผิดปรกติรั่วซึมหรือมีชิ้นส่วนที่มีรอยร้าว หรือมีสนิมหรือรอยถลอกรอยแตกที่ผิดปรกติหรือไม่ ข้อนี้จะทำให้เราสามารถดูการใช้งานที่ผ่านมา หรือเอาไว้ใช้ในการวางแผนซ่อมบำรุงต่อไปได้
13.เปิดฝาน้ำมันเครื่องตรวจดูสภาพ คราบ และรอยสนิมต่างๆ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของแหวนลูกสูบ รวมถึงการดูสีของของเหลวภายในว่ามีสีผิดปรกติที่เกิดจากเครื่อง Over heat ทำให้ฝาสูบโก่ง ทำให้มีของเหลวอื่นๆ ปะปนไปในน้ำมันเครื่องหรือไม่
14.ตรวจสอบแกนวัดระดับของเหลวต่างๆ ต้องอยู่ในระดับปรกติ ไม่มากหรือน้อยกว่าขีดปรกติ ต้องมีสีใสปรกติ ไม่ดำเกินไป หรือมีกลิ่นไหม้ การวัดระดับจากแกนวัดระดับเหล่านี้ควรทำในขณะยังไม่ติดเครื่อง
15.ตรวจสอบสายพาน Timing สายพาน Timing เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องยนต์ ถ้ารถบางรุ่นในปัจจุบันใช้ โซ่ Timing แทน คุณก็หมดกังวลเกี่ยวกับการตรวจสอบในข้อนี้ได้ โดยปรกติทั่วไป สายพาน Timing จะมีระยะการใช้งานได้ระหว่าง 100000-200000 กิโลเมตร แล้วแต่ผู้ผลิตรถ
16.ตรวจสอบยางรถยนต์ทั้ง 4 ล้อ ว่ามีลักษณะต่างๆเหมือนกันหรือไม่ ทั้งรุ่น ปีที่ผลิต รวมไปถึงลักษณะความสมมาตรกันของยางแต่ละเส้น ลักษณะการสึกกร่อน การสึกที่ไม่เท่ากันทั้งเส้น หรือไม่เท่ากันระหว่างล้อซ้ายขวา อาจทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า จุดศูนย์ถ่วงของรถคันนี้ผิดปรกติ อาจต้องทำการตั้งศูนย์ใหม่ หรืออาจตั้งไม่ได้ในกรณีรถอุบัติเหตุจนเสียศูนย์ถาวร
17. ตรวจดูส่วนต่างๆของตัวถังว่าเคยเกิดอุบัติเหตุมาหรือไม่ ดูตามขอบชิ้นส่วนต่างๆว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ ไม่เป็นรอยบุบ ขรุขระ บิดเบี้ยว หรือมีสีที่แตกต่างกับชิ้นส่วนเดียวกันในบริเวณใกล้เคียง ดูการแตกร้าวของชิ้นส่วนต่าง เพื่อตรวจสอบถึงสภาพการเกิดอุบัติเหตุของรถ
18. ทำการตรวจสอบใต้ท้องรถ ตรวจดูระบบท่อไอเสียทั้งหมด ตรวจสอบดูรอยดำที่ผิดปรกติต่างๆ รอยสนิม รอยแตก หรือรอยของเหลวที่รั่วซึมออกมาตามรอยรั่วของระบบท่อไอเสีย การตรวจสอบนี้ยังอาจบอกได้ถึงสภาพการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย
19.ไม่ควรไปคนเดียว คุณควรหาเพื่อนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านตัวถังแบบจริงจังไว้ใจได้ หรือสามารถจ้างช่างตรวจสอบคุณภาพรถที่เป็นช่างที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านการตรวจสอบสภาพรถมือสองที่ไว้ใจได้ ช่วยตรวจสอบรถให้ หรืออาจส่งรถไปตรวจกับศูนย์ตรวจรถอันทันสมัยในกรณีที่สามารถตกลงกับผู้ขายได้ แต่ต้องระวังว่าการตรวจสอบจากเพื่อนหรือช่าง หรือศูนย์บริการเหล่านี้ จะต้องไม่ทำให้รถเละเป็นโจ๊กจนคุณต้องรับผิดชอบซื้อเอาไว้แทน
20.คำนวณราคา เมื่อสามารถตรวจสอบทุกๆจุดตามที่ได้นำเสนอมาแล้ว เรื่องถัดไปคือการนำเอาข้อมูลคุณภาพรถทั้งหมดมาคำนวณเป็นราคาที่เหมาะสม โดยอาจอ้างอิงจาก"ราคากลาง"ของรถที่มีสภาพกลางๆ จากนั้นถ้ารถที่คุณดูอยู่มีสภาพดีก็สามารถซื้อได้ในราคาใกล้ๆกับราคากลาง แต่ถ้ารถมีจุดบกพร่องมาก ราคาก็ควรต่ำกว่าราคากลางอย่างแน่นอน ข้อมูลในจุดนี้สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าราคาที่เหมาะในการต่อรองแบบมีเหตุผลควรเป็นเท่าใด
จำไว้เสมอว่า ของดีราคาถูกมากๆไม่มีอยู่ในโลก ความจริง ของดีราคาเหมาะสมถึงจะเป็นรถที่คุณควรเป็นเจ้าของ
21.รถบ้าน หรือ รถเต๊นท์ นั้นไม่ได้มีความสำคัญ เท่าการที่คุณสามารถรู้สภาพที่แท้จริงของรถมือสอง เพราะในปัจจุบันความนิยมในการซื้อรถมือสองที่เจ้าของขายเอง(รถบ้าน)จะทำให้ผู้ซื้อมั่นใจและยอมจ่ายเงินมากกว่า แต่ในความเป็นจริง ขบวนการ "รถบ้านเทียม" มีมายมาย ดังนั้นการหารถโดยดูสภาพจริงได้ เป็นสิ่งที่คุณควรใช้ในการตัดสินใจซื้อรถมือสอง
22.เข้าศูนย์บริการ หลังจากได้รถมือสองที่ถูกใจมาแล้ว คำแนะนำสุดท้ายก็คือ การเตรียมนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อดูแลในส่วนของอุปกรณ์ที่เราตรวจพบว่าไม่สมบูรณ์จากการตรวจตอนซื้อ อาจมีการเปลี่ยนของเหลวต่างๆที่หมดอายุการใช้งาน หรือตกแต่งอุปกรณ์เพิ่มเติมให้รถของเราดูดีงดงามหรือแต่งซิ่งก็ได้ตามใจชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น